วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Report on violence against media during recent Bangkok unrest by REPORTERs wiThOuT bORdERs

รายงานการความรุนแรงต่อสื่อในช่วงเหตุการณ์ไม่สงบในกรุงเทพ โดย ผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดน
แปลโดย Anyakan
วิกฤติทางการเมืองที่รุนแรงและทำให้ประเทศไทยวุ่นวายอย่างมากในเดือนเมษาและพฤษภาคม ส่งผลอย่างสะเทือนอารมณ์กับความปลอดภัยของผู้สื่อข่าวและอิสระเสรีภาพของสื่อสารมวลชน ความสูญเสียที่หนักมาก มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศตายสองคนจากผู้เสียชีวิตทั้งหมด 90 คน และมีผู้สื่อข่าวที่บาดเจ็บอีกสิบคน (บางคนยังคงมีบาดแผลอยู่และคิดว่าคงจะไม่ดีขึ้น)และมีคลื่นชองการเซ็นเซ่อร์ และขู่กรรโชกอย่างไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่ 1990
ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนมี ได้มีการตรวสอบ 10 กรณีที่มี แสดงถึง มีการปิดกัั้นเสรีภาพของสื่อสารมวลชน กับคู่ฝ่ายขัดแย้งทั้งสองฝ่าย : กองทัพ, กองกำลังพิเศษ และ นักเคลื่อนไหวเสื้อแดงนปช. และ แนวร่วมอื่นๆ ผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดนตัดสินใจทำรายงานนี้เพื่อขึ้นให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ความรุนแรงได้พูดและเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ตัวแทนรัฐบาลและหนึ่งในทนายความอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตรได้สัมภาษณ์ด้วยเช่นกัน

จากความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมาก รัฐบาลได้ออกมาแสดงออกถึงชัยชนะเที่เกิดจากการต่อสู้และนองเลือดครั้งนี้ หลังจากโจมตีจุดชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงในใจกลางกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม แต่ได้มีคำถามมากมายเกี่ยวกับพฤติกรรมของกองทัพยังอยู่ มีหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ทหารได้ยิงที่พลเรือนปราศจากอาวุธโดยรอบสด ๆ , ยิงผู้สื่อข่าวหลายๆ คน ด้วยอาวุธสงครามแบบอัตโนมัติ การขู่กรรโชกทำให้หลาดกลัวอย่างมีระบบ การใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามการประท้วงทางการเมือง คือหลักฐานในการละเมิดอย่างร้ายแรง การใช้ประโยชน์จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงเพีื่อขู่เข็ญคุกคามคือข้อกล่าวหาจากเสื้อแดง ที่กองทัพไทยและศอฉ. ได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายไทยเรื่องสิทธิพลเรือน

การสืบสวนและสอบสวนอย่างเป็นอิสระจากผู้เชื่ยวชาญระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ต้องการ การที่จะมีผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น ความน่าเชื่อถือในมุมมองของต่างประเทศไทยของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องพนันขันต่อ หากรัฐบาลจริงจังกับการที่จะทำให้มีการปรองดองระหว่างคนไทยด้วยกัน ต้องการเรียนรู้บทเรียนแห่งความรุนแรงนี้ นายกรัฐมนตรี ภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องให้อำนาจแก่คณะกรรมการสอบสวนอย่างมากและร่วมมือในเรื่องแหล่งที่มีของข้อมูล เพื่อให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาได้ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้ท่านบันคีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติช่วยทำให้แน่ใจว่าได้มีหน่วยงานสหประชาชาติเกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะท่านที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเพียงประธานของ UN Human Rights Council แรงโน้มถ่วงของสิ่งที่เกิดขึ้นที่ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างโปร่งใสและเป็นอิสระ และผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนก็พร้อมที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างเป็นอิสระ


โฆษกกระทรวงต่างประเทศองไทย ธานี ทองภักดี ได้บอกกับผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดนว่า คณะกรรมการที่ได้รับการมอบหมายได้รับการแต่งตั้งเพื่อตรวจสอบความรุนแรงมีความเป็นอิสระ.

“ทางรัฐบาลเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องอธิบายให้คำถามของสังคมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิิดขึ้นในเดือนเมษายน และพฤษภาคม” นายธานีกล่าว “ไม่ว่าการตรวจสอบจะออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาลพร้อมที่จะรับผิดชอบ”

"ตัวเลขไม่โกหก" ทนายความของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตร นาย Robert Amsterdam บอกผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนว่า "จำนวนนักข่าวและ เปลที่หามคนที่ถูกยิง ได้แสดงว่าไม่มีความกังวลด้านความปลอดภัยของพลเรือน ความรุนแรงได้ใช้ตามอำเภอใจและอย่างกว้างขวาง และเรามีพยานที่บอกว่านักข่าวมีเป็นเป้าถูกยิง เรากำลังอยู่ในกระบวนการการยืนยันที่เพื่อสรุปบัญขี และรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อข้อกล่าวหาเหล่านี้ คนตายและบาดเจ็บในหมู่เสื้อแดงนั้น เป็น ที่ชัดเจยและเห็นว่าความรุนแรงมาจากไหน และเราไม่มีความมั่นใจว่าในทางการเมืองจะสามารถทำให้เกิดความจริงได้ เนื่องจากการตกลงจะจัดการให้มีการตรวจสอบความรุนแรงในเดือนเมษาและพฤษภาคมนั้น ทนายความต่างชาติไม่ได้รับการยินยอมให้เข้าประเทศไทย

กฎเกณฑ์ การบังคับใช้ และการเซ็นเซ่อร์
ผู้สื่อข่าวเป็นจำนวนมากถูกฆ่าหรือบาดเจ็บ ทั้งหมดใน combination ของสถานการณ์โชคร้าย - นักข่าวจำนวนมาก (มีทั้งผ่านและไม่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเพียงพอหรือและการติดตั้งมีอุปกรณ์ในตัวเพื่อเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์), การปะทะกับอาวุธรุนแรงมากในสภาพแวดล้อมแบบเมือง และมีคำถามว่าความจริงแล้วทหารไทยไม่ได้รับการฝึกฝนเพียงพอเพื่อจัดการกับพลเรือนที่ปราศจากอาวุธหรือไม่ หรือได้มีความตั้งใจที่จะฆ่าและยิงนักข่าวรวมทั้งนักข่าวต่างชาติหรือไม่? ทหารใช้อาวุธสงครามยิงบนพลเรือนปราศจากอาวุธรวมถึงสื่อมวลชนในวันสุดท้ายของความขัดแย้ง นักข่าวยุโรปที่อยู่บนถนนในกรุงเทพฯกล่าวว่า "มีคนทหารได้ใช่อาวุธสงครามยิงพลเรือนที่ไม่มีอาวุธในวันสุดท้ายของความขัดแย้ง และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่มีกฎเกณฑ์อะไรในการใช้อาวุธ แต่ได้ปล่อยให้ทหารได้้ใช้อาวุธกันเองตามชอบใจ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทยก็ยังยืนยันว่ามีกฎกติกา"หลังจากที่ทหารปราศจากอาวุธของเราได้ถูกโจมตีในในวันที่ 16 เมษายน, กองทัพที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อาวุธกับเสื้อแดงที่ติดอาวุธที่อยู่รอบ ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีว่าชายชุดดำ ได้ประกาศกฎนี้ให้ทหาร แต่กองทัพไม่ได้บอกให้ยิงพลเรือนอย่างแน่นอน"


อีกประเด็นสำคัญสำหรับผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดนคือการสนับสนุนให้เซ็นเซอร์สื่อไทยและการเซ็นเซ่อร์ตัวเอง ความได้เปรียบของการใช้ พรก.ฉุกเฉินจากจากศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.),ได้เซ็นเซอร์เว็บไซต์ข่าวเช่น ประชาไทนั้น เมื่อถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศธานีกล่าวว่ารัฐบาลมองเห็นความสำคัญของความอิสระของสื่อ แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ได้เรียกร้องให้สื่อมีความรับผิดชอบเอง..
รายการเหตุการณ์ที่รายงานนี้เกาะติด
1. การตายของช่างภาพอิสระ Fabio Polenghi
2. การตายของช่างกล้องชาวญี่ปุ่น Hiroyuki Muramoto, จาก Reuters
3. การบาดเจ็บของ Nelson Rand, ผู้สื่อข่าวชาวแคนาดา ที่ทำงานให้กับ France 24 TV
4. การเซ็นเซ่อร์ข่าวและการปิดเว็บประชาไท
5. การยิงช่อง 3
6. การตกอยู่ในอันตรายของ ช่างภาพและนักข่าวชั่วคราว Agnès Dherbys จาก New York Times
7. การบาดเจ็บของ Jo Subin, ช่างภาพไทยจากหนังสือพิมพ์มติชน
8. การบาดเจ็บของ Canadian Freelancer Chandler Vandergrift
9. บัญชีของ foreign correspondent who requested anonymity
10. การบาดเจ็บของ Chaiwat Pumpaung, ช่างภาพไทยจาก The Nation
INQUIRY INTO CRIEMS AGAINST MEDIA /THAILAND

Fabio Polenghi ช่างภาพอิตาลี
ถูกยิงตายประมาณ 10.45 น. วันที่ 19 พฤษภา ใกล้สวนลุมพินี ประมาณหนึ่งกิโลเมตร จากใจกลางการชุมนุมของเสื้อแดง เขาใส่หมวกกันน็อค Polenghi ถูกยิงเมื่อมีการปะทะกันระหว่างทหารและเสื้อแดงที่ด่านกีดขวาง และมีอีกสี่คนถูกยิงตายในการปะทะช่างภาพญี่ปุ่น Masaru Goto พยานที่เห็นการตายของ Poenghi’s ให้ส้มภาษณ์กับสื่อไร้พรหมแดน
คุณสามารถอธิบายให้เราฟังได้มั้ยกรณีที่คุณเห็น Fabio ตาย ?
ครั้งแรกที่ฉันเห็น Fabio ได้ในกลางเดือนเมษายนระหว่างการชุมนุมในกรุงเทพฯที่ฉันมีชีวิตอยู่ที่นี่ ผ่านมาเก้าปี จากนั้นเราเป็นเพื่อนกัน ผมอยู่ใกล้เขาเมื่อเขาตอนที่เขาถูกยิงฆ่าตาย เราอยู่ที่แยกสารสินและถนนราชดำริในกรุงเทพฯ ใกล้สวนลุมพนี กองทัพได้เริ่มโจมตีนปช. ในตอนเช้า Fabio และผมถ่ายภาพจากด้าน นปช. คุณสามารถพูดได้เลยว่าเราอยู่แถวหน้า การระดมยิงของกองทัพเริ่มที่จะรุนแรงและมากขึ้นนในเวลาราว ๆ 10:00 น.

ผมต้องการออกจากสี่แยกเพราะมีผู้ชุมนุมบอกผมว่ามีปืนสไนเปอร์จะยิงมาที่เรา เราอยู่ในขั้นตอนที่กำลังจะหนีออกไป เมื่อผมสังเกตเห็นร่างกายที่แอสฟัลต์ข้างหลังผม ผมรู้เลยทันทีว่าเป็น Fabio ผมไม่สามารถบอกได้เขาถูกยิงมาจากทางไหน ผมไม่แน่ใจว่าถ้าเขาถูกยิงตาย เพราะเขาเป็นนักข่าว ไฟที่ลุกไหม้้รุนแรงมาก ในตอนนั้นไม่มีการยั้งรทั้งในส่วนของทั้งทหารหรือ นปช.

กล้อง Fabio หายไป คุณรู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น?

เมื่อเขาถูกยิง เราพยายามดึงเขาออกสมรภูมิการยิง ภาพวิดีโอถูกถ่ายทอดภายหลัง แสดงให้เห็นตอนที่พวกเรากำลังลากเขาออกมา คุณยังสามารถเห็นคนแต่งตัวเหมือนนักข่าว จับมือของ Fabio และกล้องของเขาไว้ AOS ตั้งแต่นั้นเราไม่ได้พบกล้องถ่ายรูปนี้อีกเลย เรากำลังตามหามันอยู่

คุณคิดว่า Fabio เป็นเป้าหมายในการยิงเพราะเป็นนักข่าวรึปล่าว?
มีข่าวลือมาหมุนเวียนมากมายมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ว่ามีปืนสไนเปอร์ที่ไม่ปรากฏว่าเป็นของใคร กองทัพ หรือ นปช. การที่จะฆ่านักข่าว มันเป็นการเพิ่มระดับของความอลหม่าน ความโกลาหล แต่ผมไม่มีหลักฐานว่าข่าวลือนี้มันมีข้อเท็จจริงใดแค่ไหน สมาคมผู้สื่อข่าวไทย แนะนำไม่ไปสถานที่ที่ิเมื่อพิจารณาแล้วอันตรายเกินไป

คุณคิดว่าตำรวจไทยได้ดำเนินการชันสูตรพลิกศพอย่างละเอียด หลังจากการตายของ Fabio?
ศพของเขาได้ถูกทำพิธีเผาอย่างรวดเร็วหลังจากการตายของเขา ผมเลยไม่แน่ใจว่าศพของเขาได้รับการชันสูตรโดยละเอียดหรือไม่..

ผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดน ได้สัมภาษณ์บุคคลอีกคนหนึ่งเกี่ยวกับการตายของ Polenghi ทีเป็นนักสร้างหนังสารคดีชื่อ Brad Cox เขาได้อยู่ใน scene เดียวกันที่มีการยิงกัน และเขาก็ประสบกับความบาดเจ็บด้วย เขาคือ Cox ที่ทำสารคดีเรื่อง “Who Killed Chea Vichea?” สารคดีที่เกี่ยวกับการฆาตกรรมชาวเขมรที่เป็น trade unionist และก็ถูกแบนไม่ให้ฉายในกัมพูชา

อะไรเกิดขึ้น?
ผมไม่เคยพบ Fabio ผมในตำแหน่งที่เป็นบริเวณทางแยกตรงแนวด่านกั้นเสื้อแดง ตรงนี้มีการยิงค่อนข้างหนักมาจากกองทัพ เสื้อแดงตอบด้วย Molotov Cocktails และ ระเบิดเพลิงที่ทำเอง มีลูกปืนยิงมาที่ยางที่อยู่ใกล้ผม และห่างจากหัวผมเพียง 40 ซม. ก่อนเวลาสิบเอ็ดโมงไม่นานนัก ผมเห็นการเคลื่อนไหวคืบใกล้เข้ามาอีกนิดในถนน ผมออกไปดูแล้วก็กลับไปยังโซนเสื้อแดง ตอนที่ผมกลับมาผมรู้สึกเจ็บที่เข่าขวาของผมและรู้ว่าผมถูกยิง แต่ซีเรียสนัก ผมหันมาเพื่อดูว่ายิงมาจากไหน และแล้วผมก็เห็น Fabio ที่พื้นห่างกันไม่เกิน 10 เมตร ผมเริ่มถ่ายทำ ในขณะที่เมื่อนักข่าวคนอื่น ๆ และเสื้อแดงลากเขาในที่กำบัง และเอาเขาขึ้นวางบนรถจักรยานยนต์ แต่มันก็สายเกินไปแล้ว

เกิดอะไรขึ้นกับกล้องของเขา?
ใน footage ของผม คุณสามารถเห็นผู้ชายคนนึง และเป็นที่ชัดเจนว่าเป็น นักข่าวที่ช่วย Fabio และถือกล้องของเขา แต่ก็ยังไม่ได้กล้องคืนเลย

Fabio คือเป้าหมายที่เป็นนักข่าวหรือไม่?
ฉันไม่สามารถพูดได้ย่องเต็มปากว่าใครยิง Fabio และผม ผมคิดว่าเราถูกยิงด้วยปืนสไนเปอร์ของทหาร ตอนที่พวกเขายิงพวกเรา ตอนนั้นไม่มีคนมากนักแถว ๆ นั้น และมีเสื้อแดงห่างออกไปกว่า 10 เมตรจากบริเวณนี้ ดังนั้นผมไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงถูกยิง เราเป็นเป้าหมายในการยิงหรือว่ามาอยู่ในทางกระสุน ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมแบกกล้องใหญ่และง่ายที่จะเห็นว่าผมเป็นชาวต่างชาติ แต่ Fabio สวมใส่เสื้อผ้าสีเข้ม ก็เลยเป็นการเข้าใจผิดว่าเป็นชายชุดดำ?

Hiroyuki Muramoto, ช่างภาพชาวญี่ปุ่นจาก Reuters

ช่างภาพชาวญี่ปุ่นจากรอยเตอร์จากกรุงโตเกียว เขาถูกส่งมาประจำที่กรุงเทพ และรู้สึก overwhelm ด้วยการเคลื่อนไหวขนาดใหญ่ของเสื้อแดง
เขาถูกยิงเมื่อคืน 10 เมษายนใน ช่วงแรกเลยของแนวรบทางอาวุธครั้งแรกระหว่างทหารและเสื้อแดงในกรุงเทพฯ มันเหมือนกับว่าประเทศญี่ปุ่นและที่รอยเตอร์ได้ถูกกวนแรง ๆ ทันทีที่สถานการณ์ได้บังคับเมื่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศคณะกรรมการการสอบสวนเรื่องความความตายของเขา แต่ไม่เคยพบว่าได้รับการเผยแพร่



ภาพออริจินอลที่ Muramoto ถูกฆ่า ไม่ได้รับการพิจารณาเป็นอิสระ และแต่ละฝั่งก็ตำหนิว่าอีกฝั่งหนึ่งทำ แต่ไม่เป็นที่สงสัยว่าทั้งทหารและเสื้อแดงมีการยิงกันในบริเวณโดยรอบนั้น และมีพลเรือนที่ไม่ได้ติดอาวุธแลผู้สื่อข่าวในบริเวณถนนราชดำเนินประมาณ 13 คนถูกฆ่าตาย
และมากกว่า 500 ได้รับบาดเจ็บในคำ่วันนั้น นักการทูตญี่ปุ่นบอกผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดนว่ารัฐบาลของเขาได้รอรอผลการสอบสวนตั้งแต่ 13 เมษายน "เราถามเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยเพื่อดำเนินการสืบสวนอย่างละเอียด แต่จนถึงขณะนี้เรายังไม่สามารถกล่าวได้ว่ามันเสร็จหรือไม่” โฆษกกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นในโตเกียวกล่าว "ตำรวจญี่ปุ่นยังต้องการทราบผลการตรวจสอบอยู่” เมื่อถามเกี่ยวกับเรื่องนี้โฆษกกระทรวงต่างประเทศไทยก็ปฏิเสธที่จะกล่าวว่าเมื่อไหร่ผลจะออก หัวหน้ากองบรรณาธิการข่ารอยเตอร์ David Schlesinger กล่าวว่า"ผมเสียใจอย่างมากที่สูญเสียเพื่อนร่วมงานของเรา Hiro Muramoto ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวสามารถเป็นอาชีพที่อันตรายอย่างมาก ในขณะที่เป็นผู้ที่พยายามบอกเรื่องราวของโลกในใจกลางศูนย์กลางของเหตุการณ์นั้น ๆ ครอบครัวรอยเตอร์ทั้งหมดขอไว้อาลัยโศกนาฏกรรมครั้งนี้.


Nelson Rand, ผู้สื่อข่าวชาวแคนาดา
อายุ 34 เป็นผู้สื่อข่าวภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มา 12 ปีแล้ว และเมื่อสองปีที่แล้วทำงานเป็นผู้สื่อข่าวชั่วคราวให้กับ France 24 TV ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่มือ ขา เท้า และช่วงท้อง ขณะที่ทำข่าวการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม และตอนนี้ยังเดินไม่ได้ Nelson Rand ได้บรรยายเหตุการณ์ที่เขาเกือบถูกฆ่าตาย

เกิดอะไรขึ้น?
กำลังอยู่ในการถ่ายทำการปะทะระหว่างทหารและเสื้อแดงบนถนนวิทยุเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ตอนแรกผมถ่ายอยู่บริเวณฝั่งทหาร แต่ผมเปลี่ยนข้าง เพื่อจะได้ถ่ายทำฝั่งเสื้อแดง ผมข้ามถนนเพื่อที่จะถ่ายผู้ชายคนหนึ่งและต่อมาไม่นานเขาก็ถูกยิง และเพื่อให้ได้เข้าใกล้มือปืน ที่ผมคิดว่าอยู่ในสวนลุมพินี มือของผมถูกยิงด้วยกระสุน ผมพยายามที่จะข้ามถนนและกล้องของผมก็ตกลง ผมเลือกที่จะข้ามถนนไปหาที่ป้องกัน เมื่อผมล้มลงบนพื้นดินและร้องขอความช่วยเหลือ ก็มีอีกช้อทหนึ่งยิงเขามาที่ขา

และกระสุนลูกที่สามก็ได้ยิงเข้ามาด้านข้างของท้องน้อยของผม ผมจำไม่ค่อยได้นักในขณะนั้นแต่ก็มีเสื้อแดงที่ลากผมออกไปจากบริเวณที่มีการยิงและบอกผมหลังจากนั้นว่าผมถูกยิงที่ขา

การ์ดเสื้อแดงรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายได้เสื่ยงชีวิตเพื่อช่วยชีวิตผม แล้วเสี่ยงชีวิตที่ได้นำผมไปไปโรงพยาบาลบนรถจักรยานยนต์ คนหนึ่งขับรถมอเตอร์ไซค์และอีกคนก็ประคองผมไว้ ผมอยู่ตรงกลาง นี้เป็นช่วงเวลาที่โหดร้าย เส้นโลหิตแดงที่โคนขาของผมมันสาหัสมาก และผมเสียเลือดมาก ระหว่างขับรถจักรยานยนต์ของเราถูกยิงด้วยกระสุนอย่างน้อยสองครั้งตามที่เสื้อแดงผู้ที่ขับจักรยานยนต์คนนั้นบอก

ก่อนที่เหตุการณ์นี้ คุณคิดบ้างหรือไม่ว่คุณเสื่ยงในการได้ทำข่าวในเหตุการณ์ปะทะกันครั้งนี้?
แน่นอน ผมได้ตระหนักเป็นอย่างมากถึงความเสี่ยงที่ผมจะได้รับ ผมรู้ทันทีว่ามันเสี่ยงเมื่อข้ามถนน ฉันยอมรับความเสี่ยงนั้นและผมก็กำลังชดใช้อยู่ ผมไม่ได้สวมเสื้อกันกระสุน หรือหมวกนิรภัย ผมไม่ชอบเสื้อกันกระสุนเพราะรู้สึกว่ามันจำกัดการเคลื่อนไหว ไม่คล่องตัว และมันก็เป็นอันตรายถ้าไม่ใส่ ถ้าต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในการต่อสู้ อย่างไรก็ตามเสื้อกันกระสุนก็คงจะไม่ป้องกันผมวันนั้นอยู่ดี และผมก็ไม่ได้ใส่เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าผมเป็นนักข่าว ผมลืมปลอกแขนสีเขียวที่บ่งบอกว่าผมเป็นสื่อมวลชนไว้ที่บ้านในวันนั้นด้วย แต่อย่างไรก็ามผมคิดว่ามันก็ไม่ได้ช่วยป้องกันผมอยู่ดี

คุณคิดว่าคุณถูกกำหนดเป้าหมายหรือไม่?
ผมไม่รู้ ผมได้เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงเอง แต่ผมก็เลือกที่จะไปที่นั่น

คุณคิดว่าการสอบสวนในเหตุการณ์ไปนี้เป็นยังไงแล้ว?
เท่าที่ผมทราบ ไม่มีการตรวจสอบ ผมยังไม่ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลไทยเพื่อที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการตรวจสอบอย่างแน่นอน

มุมมองของคุณเรื่องสถานะของเสรีภาพในการเสนอข่าวของสื่อในประเทศไทยคืออะไร? คุณรู้สึกปลอดภัยในการทำงานอยู่นั่นหรือไม่?
ผมต้องการจะย้ำว่าที่ผมได้รับบาดเจ็บสาเหตุ เพราะว่าผมได้นำตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายเอง ผมสามารถรายงานที่สตูดิโอหรือที่อืี่นที่ห่างไกลจากสถานการณ์การต่อสู้ แต่ว่ามันไม่ใช่วิธีที่ผมชอบจะรายงาน


จีรนุช เปรมชัยพร ผู้บริหารของเว็บไซด์ข่าวประชาไท
ประชาไทหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และหน้าใน facebook และ twitter ที่ถูกบล้อกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน หลังจากที่ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในกรุงเทพฯและปริมณฑล
ศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้กล่าวหาว่าประชาไทเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

ความพยายามต่อต้านการเซ็นเซอร์ ประชาไทได้เปลี่ยน URL ของเว็บไซต์ถึงเจ็ดครั้ง และนำได้ดำเนินคดีทางกฏหมายกับ ศอฉ. แต่ศาลปกครองก็ถือหางทางการ

ประชาไท ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำเสนอข่าวอิสระ และให้พื้นที่ในการแสดงออกทางสังคมและการเมืองของประเทศ กับและให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงออก และนับได้ว่าประชาไทเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ทางเลือก ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมประมาณ 40,000 ครั้งต่อวัน ผู้หญิงที่เป็น editor, จีรนุช เปรมชัยพร, ได้บอกเราเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ..

ทำไมเว็บไซต์ประชาไทยังโดนบล็อกอยู่ ?
เจ้าหน้าที่ไม่ได้อธิบายให้เราทำไมยังไม่ถอนการบล้อกออกไปอีก ฉันคิดว่าที่ยังบังคับใช้เพราะรัฐบาลยังคง พรก.ฉุกเฉินอยู่ในกรุงเทพ

การเซ็นเซอร์เป็นปัญหาใหญ่ของประชาไท ผู้อ่านของเราในประเทศไทยไม่สามารถเข้าถึงที่เว็บไซต์โดยตรงได้ มีแต่กลุ่มเล็ก ๆ ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ท ที่ได้ใช้ซอพท์แวร์ ฝ่าบล็อกเพื่อเข้ามาอ่านข่าวของเราในอินเตอร์เน็ทได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ในมุมมองของคุณทำไม ศอฉ.บล็อกเว็บประชาไท?
ฉันคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามโดย ศอฉ. เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ประชาชนมีคำถามกับข้อมูลที่ภาครัฐและศอฉ. พยายามหยิบยื่นให้เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและสังคม

ในวันที่ 23 เมษายน ประชาไทได้ดำเนินการทางกฎหมายกับ ศอฉ. ในช่วงมีการที่ปิดกั้น ได้รับการให้บริการเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและอื่น ๆ แต่ศาลวินิจฉัยเข้าข้าง ศอฉ. อะไรกันแน่ที่ทำให้เป็นแบบนี้?

ศาลคิดว่าการปิดกั้นโดย ศอฉ.นั้นถูกต้องตามกฎหมายเพราะกรุงเทพอยู่ภายใต้พรก.ฉุกเฉินเรายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 25 พ.ค. เพราะคิดว่าศอฉ.ไม่สามารถเอาหนังสือพิมพ์ของเราเข้าไปอยู่ในเงื่อนไขในข้อที่ 9 อยู่ใน พรก.ฉุกเฉินได้ ศาลอุทธรณ์ได้ตกลงที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของเรา เราจะรอดูว่ามันจะอะไรกันแน่

หนังสือพิมพ์ได้ก่อตั้งในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตรในสมัยแรก ในเวลานั้น คุณมีปัญหายุ่งยากอะไรมั้ย ?
ไม่มี เราไม่ได้รับความกดดันใด ๆ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐในเวลานั้น ถึงแม้ว่าจะมีเราจะอยู่ในภาพที่ล่อแหลมน่าถูกจับผิด เนื่องจากการกระทำของทหารในรัฐบาลสมัยนั้นกับปัญหมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ตอนนั้น

โดยรวมคุณคิดว่า พรก.ฉุกเฉินมีผลกระทบกับการทำงานของสื่อสารมวลชนหรือไม่?
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้อำนาจในการกดดันสื่อทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งหมดไปไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักดังเดิม หรือสื่อทางเลือก หรือแม้กระทั่งสื่อพลเมือง

หนี่งในสมาชิกของกองบรรณาธิการช่อง 3
19 พฤษภาคม วันสุดท้ายของการโจมตีอย่างรุนแรง กลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านรัฐบาลได้ทำการวางเพลิงที่สำนักงานใหญ่ช่อง 3 พนักงานประมาณ 100 คนติดอยู่ในอาคาร และโดยเฮลิคอปเตอร์ พวกพนักงานก็ได้อพยพออกมาอย่างปลอดภัย

ผู้สื่อข่าวไร้พรหมแดน ได้สัมภาษณ์พนักงานอาวุโสของสถานี แต่ขอว่าไม่ต้องระบุ เนื่องจากมีการความสำคัญในเรื่องของการปรองดองแห่งชาติ

ความก้าวหน้าในการตรวจสอบเรื่องที่ช่อง 3 ถูกวางเพลิงยังไงบ้าง?

มีสองสถาบันที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเหตุการณ์นี้ แรกคือของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ที่จะจัดการเรื่องที่เกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางการเมืองและความมั่นคงของชาติ เกี่ยวกับความเสียที่เกิดขึ้น จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตำรวจ แต่ไม่สามารถให้รายละเอียดใด ๆ เพราะเขาให้เก็บเป็นความลับ

อะไรวัสดุอะไรที่ี่เสียหายจากเพลิงไหม้บ้าง ?
ไม่มีความเสียหายหลัก ๆ ที่สำคัญและทุกอย่างได้ถูกซ่อมแซม กระจกแตก เฟอร์นิเจอร์ได้รับความเสียหาย

มองจากขนาดของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ผู้บริหารของสถานีได้เตรียมการป้องกันการบุกรุก โจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่?
เปล่า การที่ถูกโจมตีจากผู้ชุมนุมก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอย่างยิง ไม่เคยคิดว่าเราจะเป็นเป้าหมาย

ทำไมคุณคิดว่าผู้ถึงวางเพลิงสถานีช่อง 3 ในเมื่อสถานีของคุณดูห่างไกลจากความเป็นพวกที่ต่อต้านคนเสื้อแดง?
ผมคิดว่ามันเป็นเพราะความใกล้ในทางภูมิศาสตร์ สถานีของเรามองเห็นและอยู่ไม่ไกลจาก ราชประสงค์ จุดที่เสื้อแดงมีการชุมนุมอยู่มากที่สุด หลังจากการโจมตีครั้งสุดท้ายที่รุนแรง ก็เลยเป็นที่เข้าใจว่าผู้ชุมนุมได้รับอิทธิพลจากความโกรธแค้นและว้าวุ่น ทำให้อารมณ์พาไปได้ง่าย ๆ

ผู้ชุมนุมเสื้อแดง จากการประท้วง ไปสู่การกบฏ การจลาจล
จากผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตรอย่างแรงกล้า ได้เกิดมวลชนคนเสื้อแดงขึ้นในเวทีการเมืองไทยในปี 2006 ที่ยืนอยู่ตรงข้ามกับ พวกเสื้อเหลืองที่สนับสนุนรัฐประหารที่โค่นล้มนักการเมืองพันล้าน ประกอบด้วยประชาชนจากเหนือและจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และเป็นสมาชิกของชนใช้แรงงาน การประท้วงอยู่ข้างหลังกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เสื้อแดงที่ต่อต้านรัฐบาลทหารจาก 2007 เป็นต้นมา และในปี 2009 ที่เริ่มต่อต้านระบบขัดขวางกิจกรรมของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ที่เป็นรัฐบาลที่มาไม่ชอบและไม่ถูกต้อง

ผู้นำของเสื้อแดงซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องและเป็นอิสระต่อทักษิณ ได้ออกแผนการยึดกรุงเทพมหานครและทำอารยะขัดขืนทั่วประเทศในเดือนเมษายน 2010 การต่อต้านทางการเมืองกลายเป็นจลาจลและสงและสงครามกองโจรในเมืองกองกำลังติดอาวุธที่เรียกว่า"คนสีดำ" เพื่อที่จะสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล เจ้าหน้าที่เริ่มอธิบายการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ว่าเป็น"ผู้ก่อการร้ายในเดือนพฤษภาคม แกนนำเกือบทั้งหมดตอนนี้ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเรือนจำ และสถานีข่าวของพวกเขารวมทั้งเว็บไซด์ถูกปิดและปิดกัั้น พรรคเพื่อไทยที่สนับสนุนเสื้อแดงและทักษิณสามารถชนะการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งได้อย่างง่ายดาย หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

Agnès Dherbys Freelance Photo journalist จาก New York Times
เธอเริ่มอาชีพนี้เมื่อปี 2004 ตอนที่เข้ามาทำข่าวเรื่องเหตุการณ์ซึนามิที่ประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมากจภาพถ่ายของเธอได้ปรากฎบ่อย ๆ บน New York Times, Newsweek, Time Magazine, Le Monde Mag
ในช่วงเหตุการณ์วิกฤตที่กรุงเทพฯ Agnes Dherbeys เป็นหนึ่งในนักข่าวที่เสี่ยงอย่างมาก เพื่อทำข่าวการชุมนุม การเป็นช่างภาพ ทำให้เธอรู้สึกว่าเมันจำเป็นที่เธอจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่เป็นหัวใจของเรื่องที่เกิด ถึงแม้ว่าเธอจะมีแค่หมวกกันน็อคเท่านั้น หลังจากที่เกือบถูกด้วยปืนไฟจากกองทัพ เธอพยายามจะหาเสื้อกันกระสุนมาใส่ ไม่กี่วันก่อนการปราบปรามครั้งสุดท้าย

คุณสามารถบอกเราเกี่ยวกับเรื่องราวที่คุณได้ประสบ เมือวันที่ 13 พฤษภาคมได้หรือไม่ ?

เสธ.แดง นายพลที่อยู่ฝั่งเสื้อแดง ถูกยิงสาหัส สันนิษฐานว่าด้วยปืนสไนเปอร์ นขณะที่กำลังให้สัมภาษณ์กับนักข่าววันที่ 13 พฤษภาคม การซุ่มยิงครั้งนั้นคือเครื่องหมายของการเริ่มต้นของสงคราม"กรุงเทพฯ ผู้ชุมนุมเริ่มที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพที่ราชประสงค์ ทึ่เป็นจุดหลักของการชุมนุม และในส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ

ตกเย็น การปะทะกันเริ่มขึ้นบนถนนวิทยุใกล้สวนลุมพินีและถนนพระราม 4 ฉันได้วิ่งตามเสื้อแดงไปที่ถนนพระราม 4 ใกล้ธนาคาร HSBC พวกเขาไม่ได้ติดอาวุธ ฉันอยู่ไม่กี่เมตรจากมุมถนน หลังจากที่ถ่ายภาพของกลุ่มนี้ ฉันกำลังคิดที่จะออกจากแถวหน้าเพราะว่ามีการยิงเกิดขึ้น มีการยิงกระจัดกระจาย เป็นระยะ อยู่รอบๆ อยู่ มีการยิงมาจากสวนลุมพินี ฉันล่าถอยออกมาไม่กี่เมตร และเมื่อฉันหันมาถ่ายรูป ผู้ชายคนหนึ่งที่ปราศจากอาวุธได้ถูกยิงไปที่หัวต่อนหน้าต่อตาฉันเลย

รถพยาบาล, เสื้อแดงและนักข่าวมาถึงอย่างรวดเร็ว มีการยิงเข้ามาอีกหลายนัดเข้ามาทางเราก่อนทีผู้ประท้วงที่ถูกยิงที่หัวได้ถูกอุ้มใส่รถพยาบาล ในขณะที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งเข้ามามุงที่ตัวผู้บาดเจ็บ

คุณรู้สึกว่าคุณเป็นเป้าหมายหรือไม่?
ไม่.. ฉันไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นเป้าหมาย และฉันไม่เคยได้เห็นเองในเหตุการณ์ที่นักข่าวถูกยิง

เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มคิดว่าคุณต้องสวมเสื้อกันกระสุน และทำไม?
หลังจากที่มีการปะทะกันในคืนวันที่ 13 พฤษภาคม วิกฤติเริ่มจากรูปแบบการชุมนุมที่เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ และกลายเป็นสงครามกองโจรที่เกิดในเมือง กองทัพได้เริ่มแล้วจะใช้กำลังอาวุธเมื่อวันที่ 10 เมษายน การปะทะและระเบิดครั้งแรกที่ถนนสีลมทำใหสถานการณ์ ้เปลี่ยน ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานในเวลากลางคืนก็อันตรายเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า ในที่สุดฉันสามารถจัดการตัวเองให้ใช้เสื้อกันกระสุนที่มีคนให้ยืมมาใช้มาสามชั่วโมงแล้วในวันที่ 16 พฤษภาคม และฉันก็มีหมวกกันน็อคมาตั้งแต่ 10 เมษายนแล้ว

คุณคิดว่าละเมิดเสรีภาพของสื่อยังมีต่อไปหรือไม่?
มีบรรยากาศที่ชัดเจนของการเซ็นเซ่อร์ข่าวจากอำนาจของ ศอฉ.

ตั้งแต่เริ่มต้นของวิกฤต คุณได้จัดการถ่ายภาพของคนชุดดำที่มีการถกเถียงกันได้หรือไม่?
ในขณะที่ทหารและเสื้อแดงถูกยิงโดยรอบ ในวันที่ 10 เมษายนใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฉันพยายามไปอยู่ทางฝั่งกองทัพทางถนนด้านเล็ก และที่ตรงนั้นฉันพบเห็นว่าตัวเองได้เผชิญหน้าต้วต่อต้วกับชายชุดดำติดอาวุธ ฉันรีบถ่ายรูปอย่างรวดเร็วและก่อนที่เขาจะพูดอะไรกับชั้น แล้วก็รีบออกไป ฉันไม่ต้องการที่จะเสี่ยงให้กล้องของฉันถูกฉกไป แต่ฉันก็ยังไม่รู้ว่าว่าเขาคือใคร


สุบิน นามจันทร์, ช่างภาพไทยจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

อายุ 34 ปี ผู้สื่อข่าวไทยถูกยิงที่ขาสองครั้งใกล้สวนลุมพินี 5 วันก่อนที่จะมีการโจมตีอย่างรุนแรงครั้งสุดท้ายและกล้องของเขาได้รับความเสียหาย สำนักพิมพ์มติชนได้ชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้และให้เงินเขาเพื่อแลกกัน
คุณสามารถอธิบายให้เราฟังถึงเหตุการณ์ที่ทำให้คุณได้รับบาดเจ็บได้หรือไม่?
วันที่ 14 พฤษภาคม, บรรณาธิการของผมให้ผมไปและถ่ายภาพของการชุมนุมประท้วงที่ราชประสงค์ ผมไปถึงเมื่อเวลา 11:00 หลังจากฟังประกาศของแกนนำเสื้อแดงอย่างเป็นทางการผมได้ยินมาว่ามีการปะทะกันระหว่างทหารกับเสื้อแดงในพื้นที่บริเวณตึกอื้อจือเหลียง อาคารสำนักงานที่อยู่ใกล้สีลม ที่สำนักงานThomson Reuters ตั้งอยู่ ดังนั้นผมจึงตัดสินใจไปที่นั่นเพื่อถ่ายทำวิดิโอการปะทะกัน ในระหว่างทาง ทหารได้ปิดกั้นทางเดินของรถยนต์ ผมเลยออกไปถ่ายภาพทั้งหมด ผมเดินไปสวนลุมไนท์บาซาร์ที่ผมเอาภาพรถยนต์ที่กำลังถูกเผาไหม้อยู่ ผมเห็นนักข่าวบางคนกำลังข้ามถนนไปที่ฝั่งผู้ชุมนุมประท้วงอยู่ คือผมตามชุดดูแลเพื่อซ่อนอยู่หลังกำแพงของของสวนลุมพินี ผมได้ถ่ายภาพของเจ้าหน้าที่กำลังทำการดับเพลิงอยู่

ต่อมาไม่นานนัก พวกเราได้ยินเสียงปืนยิงมาจากอีกด้านหนึ่ง ผมไม่รู้ว่าใครยิง นักข่าวและ ผู้ชุมนุมก็หาหลังคาที่หลบ ผู้ชุมนุมได้ใช้ Molotov cocktail และหนังกะติ๊กเพื่อยิง แต่ยิงไม่ถูก และเราได้ยินเสียงปืนยิงกลับมาจากอีกฝั่ง

จากนั้นทุกอย่างสงบลง และนักข่าวบางส่วนได้ออกไป มีการยิงไฟถนนแตกกระจายลงมาใกล้ตัวผมในเวลาประมาณบ่ายโมง และผมก็ได้ข้ามถนนไปถ่ายรูป บางคนบอกว่าเป็นการยิงมาจากในสวนลุมฯ จากนั้นผมก็เลยไปซ่อนที่ป้ายรถเมล์ ที่เมื่อผมได้ยินเสียงยิงอีกผมก็เห็นผู้บาดเจ็บถูกหามบนแปลหาม ผมออกไปอีกนิดเพื่อพยามจะถ่ายทำฉากนี้ ก็มีเสียงยิงมาอีกจากสวนลุมพินี ผมกลับไปยังที่พักตรงป้ายรถเมล์ เมื่อเหตุการณ์สงบลงอีกครั้งผมก็เริ่มที่จะรับรู้ว่าผมถูกยิงที่ขาซ้าย ผู้ชุมนุมต้องการที่จะพาผมไปที่โรงพยาบาล แต่ว่ามันมีการยิงกันอยู่มากเกินไป อีกไม่กี่นาทีต่อมาผมก็ถูกยิงที่ขาขวา ผู้ชุมนุมตะโกนที่ผมว่า"หมอบลงที่พื้น"

เมื่อได้ยินฉันได้รับบาดเจ็บอีกช่างภาพอีกคนก็เข้ามาถ่ายรูป แต่เขาก็ถูกยิงอีก ผมต้องรออีกประมาณห้านาที แต่ดูเหมือนยาวนานมาก ตำรวจก็ได้เอาผมไปที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

คุณได้ใส่ชุดป้องกันรึปล่าว?

ใช่ ผมใส่เสื้อกันกระสุนและหมวกกันน็อค ทางหนังสือพิมพ์ได้หาให้ผม

คุณรู้สึกว่าคุณเป็นเป้าหมายหรือปล่าว เพราะว่าคุณเป็นนักข่าว?

ผมไม่ได้คิดเช่นนั้น ผมอยากจะคิดว่าผมถูกยิงโดยบังอิญมากกว่า ผมอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมจำนวนมาก และมันไม่มีน่าจะเป็นไปได้ว่าเค้าสามารถบ่งบอกได้ว่าผมเป็นนักข่าว

แล้วการดำเนินการสอบสวนได้ไปถึงไหนแล้ว?
ตำรวจได้มาหาผมที่บ้านใจตอนที่ผมได้หยุดลาป่วย เมื่อผมดีขึ้นเล็กน้อย ผมได้ไปร้องทุกข์และให้ปากคำที่สถานีลุมพินี แต่ผมก็ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับจากตำรวจอีกเลยนับแต่วันนั้น


Canadian Freelancer Chandler Vandergrift

เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าว ตั้งแต่เขาเข้ามาอยู่ที่เมืองไทยตั้งแต่ห้าปีที่แล้ว ได้รับแผลจากการบาดเจ็บทั้งหมด 25 บาดแผล ที่หลังขาและแขน เป็นผลเนื่องมาจากระเบิด M79 ที่ระเบิดในวันสุดท้ายของการโจมตีอย่างรุนแรงในบริเวณที่ชุมนุมเสื้อแดง

Vandergrift ได้รับการบาดเจ็บสาหัสที่หัวและสมองและผลจากการบาดเจ็บครั้งนี้ทำให้เขาสูญเสียการได้ยินในหูซ้ายร้อยละ 40 ของการได้ยินและ 15 เปอร์เซ็นต์ในหูขวา เขาสามารถเคลื่อนแขนขาของเขาเท่านั้นแต่ก็ด้วยความยากลำบาก สายตาของเขาก็ได้รับผลกระทบ และมันยากเย็นแสนเข็ญมากในการอ่านและเขียน

เกิดอะไรขึ้นที่ 19 พฤษภาคม?

ผมอยู่บนถนนราชดำริในเวลาประมาณ 12:30 ซึ่งเป็นวันที่สามของการทำงานเป็นล่ามและเป็นนักวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์รายวัน Toronto Star ผมมาถึงราชดำริจากถนนสีลม ผมอยู่ท่ามกลาง 20 คน มีการยิงและระเบิดเกิดขึ้น และทหารก็ได้ถอยไปประมาณห้านาที จากนั้นสมาชิกของกองกำลังพิเศษมาถึง พวกเขามีอาวุธที่ดีขึ้น ผมไม่มีความจำในสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นหล้งจากนี้ แต่นักข่าวอื่น ๆ ทั้งไทยและต่างชาติได้บอกว่าผมได้รับบาดเจ็บจากระเบิด M79 ยิงมาจากด้านบนของอาคารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงหัวรุนแรง ผมอยู่ใต้ต้นไม้ ทหารสองคนที่อยู่ใกล้ฉันได้รับบาดเจ็บด้วย



ผู้สื่อข่าว Cyril Payen ของ France 24 ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่บอกว่าช่างภาพรอยเตอร์ได้ช่วยปฐมพยาบาลผมในขั้นแรก หนึ่งในสิ่งที่เขาทำคือตัดสายของกระเป๋าของผม เพราะว่ามันรัดคอผมอยู่ ต่อมาอีกนานพอสมควรก็มีพนักงานเอาเปลหามมารับผม พมบอกให้พวกเขารับทหารที่บาดเจ็บไปก่อน ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้บาดเจ็บมากเท่ากับผม

คุณรู้สึกว่าเป็นเป้ายิงหรือไม่?
มันเรื่องราวที่เหมือนประชดประชัด ก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ ว่าผมอยู่ในความตรีงเครียดและสถานการณ์รุนแรงโดยกองทัพ แต่ผมกลับได้รับบาดเจ็บโดยลูกระเบิดเล็ก ๆ ที่โยนโดยเสื้อแดง! เป็นกลุ่มของเสื้อแดงสวมชุดสีดำ ผมค่อนข้างมั่นใจว่าพวกเขาเป็นทหารอาชีพเนื่องจากพวกเขาได้ใช้อาวุธสงคราม

ผมได้สัมภาษณ์แกนนำเสื้อแดงหลายคนก่อนหน้านี้ี่และทุกคนยืนยันว่าพวกเขาไม่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มติดอาวุธนี้่ อย่างไรก็ตามถ้าดูระยะห่างระหว่างคนที่ปาระเบิดลูกเล็กกับผมและคนอื่นที่ได้รับความบาดเจ็บจากการปาระเบิด ผมไม่คิดว่าเขาได้เห็นว่าผมนักข่าว ถึงแม้ว่าผมได้ สวมปลอกแขนสีเขียวของนักข่าวในวันนั้น

คุณอยู่ที่โรงพยาบาลมาสามสัปดาห์แล้ว และยังคุณต้องใช้เวลาสองสัปดาห์ในโรงแรมเพื่อที่จะได้รับการรักษาเพิ่มเติม คุณได้รับความช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายหรือไม่?
โรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายสำหรับผมคนเดียว 40,000 เหรียญสหรัฐ ผมต้องจ่ายทุกอย่างเองหมด

คุณมองเห็นอนาคตสื่อในประเทศไทยอย่างไร?
สื่อต่างประเทศกำลังถูกกำหนดเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ มันจะอันตรายมากยิ่งๆ ขึ้นไปสำหรับผู้สื่อข่าวต่างชาติที่ทำงานที่นี่ ความขัดแย้งมันรุนแรงมากขึ้น ผมหวังว่าเราคงจะไม่ถึงขนาดต้องให้เปรียบเทียบประเทศไทยกับอัฟกานิสถานหรือบอสเนีย แต่ผมก็ไม่ได้มองในแง่ที่ดีมากนัก ไม่มีใคร่สามารถ มองโลกในแง่ดีได้ ในเมื่อพวกเขาได้เห็นทหารยิงคนยังไงก็ได้ การยิงอะไรก็ได้โดยอำเภอใจ!!


An International Correspondence

หัวหน้าสำนักต่างประเทศ ที่ทำเรื่องเหตุการณ์ที่ผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ นี้ ได้บรรยายว่ามันเป็นอย่างไรที่ทำงานเป็นสื่อสารมวลชนในช่วงเวลาที่วิกฤตนี้ เขาขอไม่ให้บอกชื่อ

องค์กรของคุณได้เตรียมตัวที่จะไปทำข่าวนี้ใช่หรือไม่?
ผู้เชี่ยวชาญในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงได้ถูกส่งไปยังสำนักงานของเราเพื่อให้คำแนะนำ นักข่าวของเรามีประสบการณ์ ได้รับการฝึกอบรมและการป้องกันตัว วันที่ 19 พฤษภาคม, เช่นเราได้ส่งทีมงานไปอยู่ทั้งสองฝั่ง เพื่อที่จะทำข่าวให้ครอบคลุมและสมดุล แต่เราต้องเผชิญสิ่งที่หนึ่งสถานการณ์ที่อันตรายที่สุดเท่าที่ผมได้มีอาชีฟเป็นนักข่าวมา ถึงแม้ว่าฉันได้เคยทำงานในอิรักและอัฟกานิสถานมาก่อน

อะไรคือปัญหาทีี่ทีมงานของคุณเผชิญ ในขณะที่เข้าไปทำข่าวนี้?

ผมบอกได้ว่าความปลอดภัยคือปัญหาหลัก เมื่อทหารเริ่มระดมยิง จากสิ่งที่เพื่อนร่วมงานของผมและตัวผมได้สังเกตุการณ์ พวกเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า กองทัพไทยได้อนุญาติให้ทหารยิงพลเรือนใดๆ ก็ได้ที่อยู่ในโซนการชุมนุมของเสื้อแดง ไม่ใช่แต่เพียงคนที่ติดอาวุธเท่านั้น ผมได้เห็นเสื้อแดงหลายคนที่ไม่มีอาวุธถูกยิงและบาดเจ็บเพราะถูกยิงโดยทหาร ผมไม่สามารถที่จะได้รับความเห็นจากเจ้าพนักงานใด ๆ จากการปฎิบัติการในครั้งนี้

ความเสื่ยงของผู้สื่อข่าวของคืออะไร?
ใครก็ตามที่อยู่ในโซนเสื้อแดง รวมทั้งนักข่าวมีความเสื่ยงที่ถูกฆ่าหรือบาดเจ็บ และเป็นที่ชัดเจนในวันสุดท้าย ใครก็ตามที่พยายามจะข้ามถนนทางแยกจะได้รับการลงโทษด้วยความตาย ความจริงที่หลาย ๆ จริง ๆ แล้วนักข่าวหลาย ๆ คนที่ไปทำงานที่กรุงเทพไม่เคยชินกับการทำงานในโซนสงคราม และที่นี่มีส่วนผสมของความอันตรายอย่างที่สุด และมีจำนวนนักข่าวมาก

มุมมองของคุณกับแคมเปญออนไลน์ที่เป็นปรปักษ์กับผู้สื่อข่าวบางต่างชาติ คืออะไร ?

ผมไม่คิดว่าแคมเปญอินเตอร์เน็ตจะเกี่ยวข้อง พวกเขายังคงดูเป็นไปธรรมชาติมากอยู่

คุณมีคำสั่งพิเศษกับผู้สื่อข่าวในกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหมิ่นฯ หรือไม่?
เราระมัดระวังทุกๆ คำที่เราเขียนเกี่ยวกับพระราชวงศเนื่องมาจากกฎหมายหมิ่นฯ ทนายความของเราได้ตรวจสอบบทความและรายงานของเราก่อนที่จะตีพิมพ์ออกไป อะไรที่เกินเลยไปก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แค่ปรับให้เข้ากัน เมื่อถึงเวลาที่เป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงการสืบสันตติวงศ์ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่มีการจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอของผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศมากขึ้น มันเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต


Chaiwat Pumpaung, ช่างภาพไทยจากเดอะเนชั่นรายวัน
อายุ 45 ปี เป็นช่างภาพข่าวหนังสือพิมพ์มา 25 ปี ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษของเดอะเนชั่น เขาเคยทำงานในที่ยาก ๆ หลายที่ รวมทั้งพม่า แต่ไม่เคยได้รับการบาดเจ็บในการปฏิบัติงาน กล้องของพังยับเยิน ในเหตุการณ์ครั้งนี้

กองทัพใช้ความรุนแรงและทำให้เขาตกใจ เขากล่าวว่าตอนนี้เขาได้กลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับอนาคต เขายังคงได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจากการบาดเจ็บที่ขาขวา เขาพูดจากเตียงในโรงพยาบาลของเขา
ภาพถ่ายที่ได้รับบาดเจ็บชัยวัฒน์ พุ่มพวง : เข้า http://www.oknation.net/blog/black/2010/05/15/ 2

บอกเราว่าคุณได้รับบาดเจ็บอย่างไร?
ผมอยู่บนถนนราชปรารภ เวลาประมาณ 15:00 ในวันที่ 15 เมษายนครอบ ผมอยู่กับเสื้อแดง ีประมาณ 50 คนที่พยายามจะเข้าใกล้ทหาร เสื้อแดงได้ใช้ยางเกราะป้องกัน แต่ไม่ได้ติดอาวุธ ทันใดนั้นทหารก็เริ่มยิงโดยรอบ ตอนแรกผมคิดว่าเป็นการยิงเตือน แต่กลับยิงถล่มอย่างไม่หยุดหย่อนด้วยอาวุธปืนอัตโนมัติ ผมเริ่มจะหาที่ซ่อน แต่ว่าผมถูกยิงเพียงไม่กี่เซนติเมตรจากที่กำบัง กระดูกขาขวาของฉันแตกและล้มลงที่พื้น ผมเคลืื่อนไหวไม่ได้ และทหารก็ยังระดมยิงอยู่ผมบอกตัวเองว่า :"ไม่ถูกยิงอีกครั้งกับตาย หรือถ้ามีคนมาช่วยกับยังมีชีวิตอยู่” ชีวิตผมอยู่ตรงกลางระหว่างนั้น เมื่อหยุดยิงทหารก็เอาผมฉันโรงพยาบาล

คุณรู้สึกว่าคุณเป็นเป้าหมายหรือไม่?

ผมสามารถกล่าวได้ว่าผมได้เป็นเป้าหมายอย่างจงใจ ตอนที่ทหารโจมตี ผมอยู่ไกลจากกลุ่มผู้ประท้วงเกินกว่าใครคนได้จะอ้างได้ว่าเป็นอุบัติเหตุ ทหารไม่ต้องการให้ผมได้ถ่ายรูป

หนังสือพิมพ์ของคุณได้เผยแพร่ภาพของคุณในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่?
ก็ได้ใช้ในหนังสือพิมพ์ฉบับรายวัน แต่ไม่มีคำอธิบาย ี่ผู้อ่านต้องสามารถเข้าใจได้เองว่าใครยิง

หลังจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณแล้ว คุณรู้สึกปลอดภัยในการทำงานเป็นนักข่าวในประเทศไทยหรือไม่?
ถ้ามีการชุมนุมแบบนี้อีกคิดว่าคงไม่ การทำข่าวการชุมนุมขนาดใหญ่ นั้นอันตรายมากยิ่งขึ้น และมันก็ยากขึ้นด้วยสำหรับการทำงานของผู้สื่อข่าว


ข้อสรุปและเสนอแนะ
กรุงเทพเป็นสมรภูมิหลักของนักข่างในเอเซียมาหลายสิบปีแล้ว สื่อต่างประเทศและผู้สื่อข่าวมากมายก็มีเบสอยู่ที่นี่ การรายงานข่าวในประเทศไทยก็มีอิสระที่สุดในเอเซีย แต่วิกฤติทางสังคมและการเมือได้ปะทุขึ้นและร้าวลึกอีกครั้งในระหว่างการปะทะกันในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ทำให้เสียภาพพจน์ในเชิงบวกไป ทั้งในด้านความปลอดภัยและการลื่นไหลของข้อมูลภายใต้นำ้มือของตัวแทนของรัฐบาลและเสื้อแดง

ทั้งสองค่ายไม่เคารพสิทธิของสื่อมวลชนเพื่อที่จะให้มีทำงานอย่างปลอดภัย แม้ว่าในระหว่างการปะทะรุนแรงของพวกตนและฝ่ายตรงข้าม ผู้มีอำนาจเลือกที่จะคงไว้ซึ่งการกดดันและปิดกั้นสื่อและการละเมิดอย่างรุนแรงในอินเตอร์เน็ต ละเมิดกิจการระหว่างประเทศของไทยรวมถึง กติกาสากลระหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง พฤติกรรมของกองทัพและกองหนุนเสื้อแดง ทำให้เกิดการละเมิดมติของยูเนสโกที่ได้ประกาศยืนยันใช้ โดย UN Security Council 1738 ที่จำเป็นต้องปกป้องนักข่าวในเขตที่มีความขัดแยัง อย่างเห็นได้ชัด

จากหลักฐานและบัญชีต่าง ๆ ที่รวบรวมโดยผู้สื่อข่าวไม่มีพรหมแดน แนะนำให้กองทัพไทยและกองกำลังพิเศษ ไม่สามารถกระทำการใด ๆ ด้วยความยับยั้งชั่งใจที่จะการปกป้องชีวิตของนักข่าวที่รายงานข่าวในสมรภูมินั้น พวกเขาไม่มีพยายามที่จะป้องกันนักข่าวที่ทำข่าวในขณะนั้น การสั่งให้ใช้กำลังทางทหาร ขาดการเป็นมืออาชีพและได้นำไปสู่เหตุการณ์ร้ายแรงซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ และสำหรับผู้ประท้วงที่ติดอาวุธ ก็ดูจงใจที่ให้นักข่าวทั้งไทยและต่างชาติอยู่ในอันตรายเช่นกัน หากความรับผิดชอบของแกนนำเสื้อแดงหรือและนักกิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงได้จัดตั้งขึ้นเราเรียกร้องให้มีการสอบสวนและลงโทษกันของพวกเขา ในสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทหารที่สั่งให้มีการยิงนักข่าว ก็ควรมีการสอบสวนและลงโทษเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนอยากที่จะคิดว่ารัฐบาลนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ พร้อมที่จะเลิกประกาศสถานะของฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดและเปิดให้เห็นในทุกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยิงพลเรือนที่ปราศจากอาวุธรวมทั้งนักข่าว เราไม่อยากถูกทำให้เชื่อว่ารัฐบาลไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาให้วิกฤติไทยได้ เมื่อกลับไปสู่เสรีภาพอย่างเต็มที่ในการแสดงออก และจะไม่ได้รับการยกเว้นในการลงโทษ รัฐบาลพลเรือนต้องให้แน่ใจว่าการสั่งการของทหารและตำรวจในการควบคุมฝูงชนมีความชัดเจนและโปร่งใสและรับประกันการสิทธิในการคุ้มครองพลเรือนรวมทั้งนักข่าว ทหารและตำรวจที่ไม่ปฏิบัติตามกฏจะต้องถูกดำเนินคดี

ข้อเสนอแนะต่อผู้มีอำนาจในการสั่งการ
1.ตีพิมพ์รายงานสุดท้ายเรื่องการตายของฮิโรยูกิ Muramoto และ Fabio Polenghi โดยเร็วที่สุด
2.ให้อิสระอย่างแท้จริงกับคณะกรรมการสมานฉันท์กับ หัวหน้าคือนายคณิต ณ.นคร ด้วยมนุษย์จริง ๆ และ วัสดุจริง ๆ ที่จะทำให้สอบสวนในทุกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศอยู่ในคณะกรรมการซึ่งต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริงและมีอำนาจเพียงพอที่จะเริ่มต้นการดำเนินคดีทางศาล
3.เลิกปิดกั้นสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ข่าว ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างหรือข้อจำกัดที่เคร่งครัด เพื่อการไหลฟรีของข้อมูล มีเพียงศาลเท่านั้นที่จะสามารถปิดสื่อข่าวหรือบล็อกเว็บไซต์และต้องหลังจากได้ทราบและข้อมูลทั้งหมดในทุก ๆ ด้าน
4.หยุดแคมเปญการข่มขู่ต่อสื่อมวลชนต่างประเทศบางคน และบางสื่อ และปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใหม่
5.ต้องเริ่มฝึกอบรมตำรวจและทหารเพื่อให้ดูแลความปลอดภัยของนักข่าว
6.ช่วยเหลือทางการเงินแก่นักข่าวทั้งหมดผู้ได้รับบาดเจ็บจากความรุนแรง
7.ทำให้มันง่ายขึ้น ในการให้นำเข้าอุปกรณ์ที่ ที่ผู้สื่อข่าวต้องใช้ป้องกันตัวเอง

ข้อเสนอแนะสำหรับสื่อ
1.ปรับปรุงระดับของการฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัยและให้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย (เสื้อ กันกระสุนและหมวกกันน็อค
2.ออกประกันภัยและสัญญา ให้นักข่าวอิสระที่จะใช้บริการสำหรับทำงานที่เสื่ยงภัย

ข้อเสนอแนะสำหรับเลขาธิการสหประชาชาติ
1.โดยหลักพื้นฐานของ UN Security Council Resolu tion - 1738, จัดทำรายงานรายละเอียดในของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสื่อต่อในเหตุการณ์ล่าสุดในประเทศไทย

2.โดยเร็วที่สุด ให้รับเชิญจากรัฐบาลไทยสำหรับผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิดเห็นและการแสดงออกและผู้รายงานพิเศษใน การฆ่าที่ผิดกฏหมายสรุปหรือการกระทำที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจโดยไม่มีกฏเกณฑ์ใด ๆ

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

Female Driving



It's funny stuff to watch!!

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

A Passage to India Part I : Jaisalmer..เมืองสีทองแห่งท้องทะเลทราย..ในแคว้นราชาสถาน...

เรื่อง : Anyakan  ภาพ : Anyakan & Nokarcharee
ปรับปรุงจากทีได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Daybeds ฉบับเมษายน 2550



ปลายเดือนกุมภาพันธ์อากาศเย็นสบายกำลังพอดี หลังจากที่เสร็จสิ้นภาระกิจที่เดลลีแล้ว ตามแผนต้องหาที่ไปต่อ ถึงแม้ว่าอินเดียอาจจะสกปรก วุ่นวาย ไร้ระเบียบ ไม่ค่อยสะดวกสบาย และน่าเวียนหัวในทัศนะของหลายๆ คนแล้ว ในอีกแง่มุมหนึ่งอินเดียก็ยังมีมนต์ขลัง เสน่ห็ ความงาม ศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตที่น่าค้นหาสำหรับอีกหลาย ๆ คน

โดยเฉพาะแคว้น 'ราชาสถาน' เป็นดินแดนแห่งสีสันที่ผู้คนกล้าใช้สี และใช้สีได้สวยเหลือเกิน 'ราชาสถาน' โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว ก็น่าจะเป็นดินแดนแห่ง ศิลปะ วัฒนธรรม รวมทั้งสถาปัตยกรรม ที่โดดเด่นสวยงาม น่าดึงดูดใจและมีคาเรคเตอร์ที่สุดของอินเดีย 
นอกจาก Jaipur หรือ Pink City,Udaipur - White City (ถีอว่าเป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดในอินเดีย) Jodhpur - Blue City, Pushkar - Holy City เมืองฮิปปี้ที่ฝรั่งชอบไป และอีกหลาย ๆ เมืองบนพื่อนที่อันกว้างใหญ่ไพศาลที่ได้ชื่อว่า 'แคว้นราชาสถาน' (ชื่อนี้ได้มาเพราะว่าเป็นแคว้นที่มีมหาราชามากที่สุด ก็เลยทำให้มีวังเก่าอันวิจิตร งดงาม อลังการงานสร้างมากที่สุด ซึ่งวังเก่าเหล่านี้รวมทั้งพวก old havali ทั้งหลายที่เป็นนิวาสถานของเศรษฐีและผู้มีอันจะกินชาวภารตะในอดีตกาลทั้งหลาย ส่วนใหญ่ตอนนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น heritage hotel ที่มีความคลาสิค สวยงามที่ยังคงมีกลิ่นอายของศิลปและสถาปัตยกรรมตามฉบับดั้งเดิมของดินแดนแห่งราชาแห่งนี้ ทำให้ราชาสถานดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมากที่สุดในอินเดีย 


ดังนั้นถ้ามีโอกาสที่จะไปท่องเที่ยวในราชาสถาน ขอแนะนำว่าควรอย่างแรงที่ต้องพยายามหาที่พักที่มีลักษณะเป็น heritage hotel เพื่อที่จะได้ซีมซับความรู้สึกประทับใจมากยิ่งขึ้นในการเดินทางครั้งนี้ search ดูใน google ก็ได้โดยพิมพ์คำว่า rajastan heritage hotel แล้วเลือกเมืองที่จะไป ช่วงเวลาที่น่าท่องเที่ยวที่สุดคือประมาณกลางเดือน พฤศจิกายนไปถึงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งเป็น high season ของการท่องเที่ยวในอินเดีย นอกจากช่วงเวลานี้ก็จะถึอว่าเป็น low season อากาศจะร้อนและแมลงวันก็เยอะ

Jaisalmer จุดหมายปลายทางในการเดินทางครั้งนี้เป็นอีกเมืองในแคว้นราชาสถานที่ได้ชื่อว่า Gold City ... เมืองสีทอง หนี่งในบรรดาเมืองสี ๆ ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ชื่นชอบที่สุดของนักท่องเที่ยวในดินแดนแห่งราชันย์นี้ เป็นเมืองในทะเลทราย ที่อยู่ใกลสุดไปทางทิศตะวันตกของอินเดีย เกือบสุดชายแดนติดด้านปากีสถาน บ้านเมืองเป็นสีทอง เพราะว่าสร้างจาก  sand stone ทั้งเมืองเลยทำให้ชื่อว่า Gold City

การเดินทางไป 'Gold City' ผู้เขียนและเพื่อน ได้เดินทางมาจากเมือง Jaipur หรือ Pink City เมืองสีชมพู เมืองหลวงของแคว้นราชาสถานตั้งอยู่ประมาณสองร้อยกว่ากิโลเมตรจากเดลลี มี Palace of Wind หรือ Hawal Mahal ที่มีชื่อเสียงเป็นแลนมาร์คสำคัญ เราซึ้อตั๋วรถไฟเป็น overnight train ชึ้อเป็น sleeper car ถ้าเอาแบบคลาสดี ๆ หน่อยก็ซื้อเป็น A/C  sleeper car ที่เรียกว่า 2AC sleeper  แบบที่มีเตียงบนและล่าง ติดแอร์ ราคาประมาณ Rps. 900-1,000 จริงๆ แล้วช่วงเวลาที่เดินทางคือปลายเดือนกุมภาพันธ์ อากาศยังเย็นอยู่ ไม่ต้องเอา AC Class ก็ได้ เอาเป็น sleeper ธรรมดา ราคาก็จะถูกลงเยอะ แต่ไม่มี bedding ให้เหมือนกับ A/C sleeper ต้องเตรียมไปเอง ก็แล้วแต่งบค่ะ ส่วนตั๋วรถไฟถ้าขี้เกียจไปยืนต่อคิวซื้อเอง ก็จ้างคนที่โรงแรมที่พักไปซื้อให้ก็ได้ อาจจะบวกราคาซื้อประมาณ Rps.100 ก็โอเค ไม่เสียเวลาดี แต่อย่าลืมบอกให้ไปซื้อแบบ tourist quota จะดีกว่าเพราะจะรู้สึกปลอดภัยกว่าที่มีเพื่อนเป็น tourist ด้วยกัน แต่บางทีคนอินเดียอาจจะปลอดภัยกว่าก็ได้ เพราะเท่าที่ได้ยินมา แขกอินเดียไม่ทำร้ายคนอื่น และไม่ขโมย เพียงแต่ชอบหลอกขาของเท่านั้นเอง!! 

รถไฟออกประมาณเที่ยงคืนถึงที่หมายประมาณบ่ายสอง เดินทางประมาณ 14 ชม. แต่ก็โอเคนะ เพราะว่านอนไปเลย ทำให้ไม่รู้สึกว่านานเท่าไหร่ แต่ถ้าไดเร็คจากเดลลีเลยก็จะใช้เวลาประมาณ 19 ชม. แต่ส่วนใหญ่เค้าก็จะแวะเที่ยวเมืองที่อยู่ระหว่างทางกันก่อน เช่นแวะ Jodhpur ก่อน


ถึงแล้ว Gold City....ตื่นเต้นจังเพราะเป็นหนึ่งในเมืองในใจที่อยากจะไปมานานแล้ว ออกมาจากสถานีรถไฟมีคนจากโรงแรมที่เราจองไปมารุมรอรับเต็มไปหมด ไม่รู้ว่าคนไหนตัวจริงตัวปลอมกันแน่ เลือกมาหนึ่งคน ไปถึงโรงแรมถึงได้รู้ว่า อ้าวตัวปลอมนี่ โดนแขกหลอกอีกแล้ว โรงแรมที่พักชื่อ Hotel Suraj อยู่ใน Jaisalmer Fort มีประมาณ 4-5 ห้อง เจ้าของอาศัยอยู่ชั้นล่าง ส่วนโรงแรมนี้ดั้งเดิมเป็น old haveli อายุประมาณ 500 ปี เจ้าของเป็นอาจารย์ของมหาราชาของ Jaisalmer ห้องที่พักเผอิญโชคดีได้ห้องสวยถูกใจและอยู่ที่ตำแหน่งดีสุดของโรงแรม แต่ก็จะมองเห็นนักท่องเที่ยวแวะมาหยุดดูพร้อมไกด์และถ่ายรูปตลอดเวลาเลยต้องคอยโบกมือให้ ห้องก็สวยเก๋ น่ารัก space สวย และได้บรรยากาศแบบปราสาทในทะเลทราย ตกแต่งแบบง่ายๆ ใช้ผ้าสีสวยเป็นผ้าม่านและผ้าปูที่นอน ถึงแม้จะไม่ใช่ ดีไซเนอร์ คนราชาสถานนั้นโดย nature ก็ใช้สีเก่งอยู่แล้ว staff ที่นี่บอกว่าห้องพักที่นี่เคยลง Marie Claire Maison ของอิตาลีมาแล้ว ราคาก็โอเคเลย ห้องละ Rps. 900 เป็นราคาระดับ mid-range หาจาก Lonely Planet คัมภีร์ตลอดกาลของนักท่องเที่ยว

แต่ถ้าอยากได้แบบไฮโซอีกหน่อยก็จ่ายประมาณ Rps.3,000 ที่ Killa Bawan
http://www.killabhawan.com หรือ Garh Jaisal http://www.garhjaisal.com ทั้งสองที่ดูแล้วคงจะใช้อินทีเรียดีไซเนอร์ ตกแต่งให้ วิวจากทั้งสองแห่ง จะมองเห็นเมืองทั่งเมืองที่อยู่ด้านล่างของ Fort หรือพวก heritage hotel แบบห้าดาวอลังการไปเลยก็จะอยู่ข้างล่าง fort แต่ถ้าอยากประหยัดแบบ Backpacker ขอแนะนำ Sagar Guesthouse http://www.sagarguesthouse.com ห้องสะอาดดูดี เพิ่งจะเปิดใหม่ ยังไม่อยู่ใน Lonely Planet ราคาถูกแสนถูก Rps.200-300 มี roof top restaurant ด้วยที่ขื้นไปดูเพราะเวลาเดินผ่านเจ้าของเรียกทุกวันเลยว่าให้ขื้นไปดูหน่อย ใช้ได้เลยภูมิใจเสนอค่ะ




เราอยุ่ที่นี่ Jaisalmer กันประมาณ 4 คืน เนื่องจากเมืองค่อนข้างเล็ก ผ่านไปสองวัน ชาวบ้านรู้หมดว่าสองสาว(น้อย)นี้มาจาก Thailand และบอกว่ายังไม่เคยเจอนักท่องเที่ยวจากเมืองไทยเลย คนที่นี่ชอบเรียก ชอบถาม ชอบคุยและตามสไตล์แขก..ชอบเรียกเข้าร้านให้ไปซื้อของตลอดเวลา ใน fort จะมีโรงแรมและเกสต์เฮาส์กระจายอยู่หลายแห่งต่างๆ กันไป มี restaurant โดยเฉพาสไตล์ roof topและร้านรวงขายของสวยๆและน่าซื้อเต็มไปหมด จริงๆ แล้ว Jaisalmer เป็นเมืองเดียวที่ใน fort ที่ยังมีผู้คนอาศัยอยู่

ชาวบ้านที่นี่ใช้ชีวิตชิลด์ๆ เวลาว่างคงจะเยอะ แค่ถามทางนิดหน่อยก็จะพาไปเลย โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับช้อปปิ้งละก้อรีบพาไปเลย คงจะได้คอมมิชชั่น ถึงแม้จะไกลแสนไกลขนาดนี้ Jaisalmerก็เป็นเมิืองที่แสนจะมีเสน่ห์ เป็น hot destination ที่มีนักท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะชาวยุโรป บ้านเมืองที่นี่ บังคับว่าต้องทำจาก sand stone เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ และรักษาคอนเซ็ปท์ของ เมืองสีทองเอาไว้ อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่ก็ตามถ้าเป็นบ้านคนมีเงินหน่อย ก็จะ craving อย่างวิจิตรพิศดารตามแบบดั้งเดิมของ Jaisalmer อย่างน่าชื่นชม ตัดกับสีกับของผ้าส่าหรี ผ้าพิมพ์ลาย และผ้า embroidery สวยงาม ในแบบฉบับราชาสถาน

ถ้าใครบ้าช้อป ล่ะก้อถ้ามาเที่ยวเมืองไหนในแคว้นราชาสถาน คงจะกู่ไม่กลับ แบกกันหลังแอ่น แต่ยังไงก็ต่อหนักๆแล้วกัน แล้วอีกอย่างที่ต้องระวัง ถ้ามีใครจะพาไปซื้อของที่ Government Emporiumก็อย่าไปเชื่อนะว่าเป็น Government Emporium จริงๆ แล้วจะไม่โดนหลอกถ้าซื้อของที่นี่ เพราะฉะนั้นก็จะเสียรู้แขกเหมือนกับที่เพื่อนดิฉันโดนหลอกขาย 100% pasmina จาก Government Emporium ใน Jaipur มาแล้วกว่าเป็นขอจริง ก็โดนหลอกมาหลายผืนค่ะ ที่ได้แบบแท้ 100% มาเพราะโดนหลอกว่าเป็นซาตูส์ ซึ่งซาตูส์จริงๆ แล้วแพงมากๆ หายาก แล้วโดนแบนด้วย เพราะว่าทำมาจากขนขอของนก Analop ที่หายากและใกล้สูญพันธ์ ราคาอย่างต่ำๆอย่างน้อยก็ผืนละเจ็ดแปดหมื่นบาท ถ้าของดีเลยก็ราคาเป็นล้านค่ะ ส่วน pasmina ที่คนขายบอกว่า ของแท้ 100% ทดสอบได้ถ้าทั้งผืนลากผ่านแหวนไปได้ทั้งผืนที่เรียกว่า ring through น่ะหล่ะค่ะสุดท้ายได้เรียนรู้จากคนที่ขายของอย่างอื่นที่ไม่ใชผ้าว่า ring through จริงๆแหวนที่จะผ่านนั้นต้องมีรัศมีเพียง 0.35ซม. เท่านั้นค่ะ

Tourist Attraction ทีต้องแวะไปชม ก็คงไม่พูดถึงมากเพราะหาอ่านได้ใน Lonely Planet หรือ guide book ทั่วไปเช่นใน fort ก็ต้องแเข้าไปที่ Rajmahal ที่เป็นวังของมหาราชาแห่ง Jaisalmer หรือ Jain Temples ที่เป็นวัดของคนที่นับถือศาสนา Jain ทีไม่กินเนื้อสัตว์ซึ่งชาว Jaisalmer ส่วนใหญ่นับถือ เวลาเดินใน fort จะได้ feelingเหมือนเดินอยู่ในเมืองเก่าๆ ในยุโรปทางเมดิเตอเรเนียนเหมือนกัน เช่นเมือง Toledo ที่อยู่ใน Spain ใกล้กรุง Madrid หรือ Sicily เกาะทางตอนใต้ของอิตาลี อะไรทำนองนั้น ใช้เวลาไม่นานก็เดินรอบแล้ว และที่ใน fort จะมีจุดชมวิว มากมายหลายจุดทั้ง sunrise, sunset เช่นพวก roof top restaurant ต่างๆ หรือตามแนวรอบๆกำแพง fort

ถ้าลงมาใน Local town area ก็จะมี Local market มีของขายน่าซื้อเต็มไปหมด เดินเล่นก็เพลิดเพลินหรือจะเช่าจักรยานขี่ก็ได้ บ้านช่องมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร เดินไปเรื่อยๆ ก็จะเจอ Patawa Haveli สร้างขึ้นใน คศ. 1800 – 1860 เป็นบ้านเก่าของเศรษฐีและคหบดีผู้มั่งคั่ง เปิดให้เข้าชม ขึ้นไปชั้นบนสุดของ haveli เป็นroof top มองไปเห็นวิว fort และบ้านเมืองสวยงามมาก

Salim-Singh Haveli เป็นบ้านเก่าที่เคยเป็นทีิอยู่อาศัยของนายกรัฐมนตรีขี้ฉ้อและคดโกงของ Jaisalmer ที่ฆ่าพ่อของตัวเองที่เคยเป็นอดีตนายกฯ แต่ก็ถูกมหาราชาสั่งฆ่าในที่สุดบ้านเรือนตามตรอกซอกซอย ใน Local town ก็น่ารักดี ผู้คนโดยเฉพาะผู้หญิงแต่งส่าหรี สีสันตัดกัน สวยงามวัวถือว่าเป็นเจ้าถิ่นเพราะว่าเป็นเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ตามถนนหนทาง และตรอกซอกซอย จะเป็นเรื่องปกติมากทีจะเจอวัวใช้ชีวิตปะปนกับคน ท่ามกลางกลิ่นขี้วัวโชยไปมา ถือว่าความคลาสสิคอย่างหนึ่งของวิถีชีวิตคนอินเดีย เลยทีเดียว


คนที่นี่วันๆคงไม่ได้ทำอะไรมาก รู้สึกว่าวันๆ ก็จะ hang out กับนักท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ ดิฉันกับเพื่อนก็ได้เพื่อนไหม่ชาวJaisalmer คนนึงชื่อโยคี เป็นน้องชายเจ้าของร้านที่อาหารริมขอบ fort บรรยากาศชิลด์ๆมองเห็นวิวเมืองอยู่ทางด้านทิศใต้ของ Fort ชื่อ Shati ที่เราไปนั่ง hang ทุกวัน มีน้ำใจก็อาสาเป็นไกด์พาไปนู่นไปนี่แทบทุกวัน ไม่ค่อยพูดมากเท่าไหร่ แถมแบกของให้ด้วย

และเนื่องจาก Jaisalmer เป็นเมืองที่อยู่ในทะเลทราย camel ride trip ที่ต้องไปนอนกลางดินกลางทราย ท่ามกลาง sand dune ขี่อูฐ และนอนหนาว ชมดาว จึงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นทีชื่นชอบในหมู่นักท่องเที่ยวฝรั่งมาก แต่ดิฉันและเพื่อนตัดสินใจว่าไม่ไปดีกว่า เพราะไม่อยากไปนอนหนาวทรมาน อูฐก็เคยลองขี่แล้ว เจ็บก้นดีแท้ แต่สำหรับใครที่ชอบ adventure ก็น่าลองดูนะคะ ศึกษาข้อมูลหน่อยก็จะดีเพราะจะได้ไม่ถูกหลอก หรืออีกทางเลือกคือไปแบบไม่ต้องค้างคืน ไปเช้ากลับเย็นหลังพระอาทิตย์ตกก็ได้แล้วอีกสาเหตุหนึ่งที่ไม่ได้ไปท้วร์ทะเลทราย เนื่องจากเห็นส่าหรีเก่าสวยๆ ก็เลยเกิดอาการคันไปลองสั่งทำกระเป๋าตามแบบของเรา ทดลองทำ 1 ใบก่อน ออกมาเผอิญดูดีก็เลยสั่งทำเพิ่มอีกเกือบร้อยใบ และภายใน24 ชม. ต้องทำให้เสร็จ เพราะว่าจะต้องย้ายไปที่เมืองอื่นต่อแล้ว เนื่องจากแต่ละใบใช้ผ้าในแต่ละส่วนไม่เหมือนกันเลยก็เลยเวียนหัวเหมือนกัน ตอนเลือก mix and match ก็เลยต้อง อยู่คอยเฝ้าวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ก็สนุกดี เพราะว่าเวลามันน้อยไปหน่อย เลยค่อนข้างเครียด เพราะว่าต้องคอยดู คอยลุ้นว่าจะทำเสร็จทันเวลามั้ยนี่ ไม่เสร็จทั้งหมดค่ะต้องหอบกลับมาทำต่อที่กรุงเทพฯ ถ้ามีอีกหนึ่งวันก็จะทำเสร็จหมด..ก็ดันไปเชื่อแขกเองก็ยังแหละ..


หลังจาก Jaisalmer จุดหมายปลายทางต่อไปก็คือ Jodhpur – Blue City แล้วก็ต่อไปที่ Puskar – Holy City..ที่มีทะเลสาบตรงกลาง เมืองนี้หาเนื้อสัตว์กินไม่ได้ แต่เป็นเมืองที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุดของนักท่องเที่ยวแบบBackpacker ที่เซอร์ หลุดโลก ท่องเทียวเป็นปีๆ บางคนท่องเที่ยวเป็นสิบปีก็ยังมีเลย พอดียาวเกินไปแล้ว เอาไว้มาเล่าต่อบล้อกหน้าละกันนะ